Search


หลังผ่าตัดเสริมหน้าอกจะเจ็บเหมือนถูกรถสิบล้อ...

  • Share this:


หลังผ่าตัดเสริมหน้าอกจะเจ็บเหมือนถูกรถสิบล้อทับจริงหรือไม่??
เรามักจะได้ยินกันเสมอสำหรับคนที่ไปผ่าตัดเสริมหน้าอกมาว่าหลังผ่าช่างปวดอกรวดร้าวไม่ต่างจากถูกรถสิบล้อทับหรือโดนช้างเหยียบเลย ซึ่งมันก็จริงครับสำหรับการผ่าตัดเสริมหน้าอกในอดีตที่เรามักจะเข้าทางรักแร้และใช้เครื่องมือดันให้เกิดโพรงเพื่อใส่ซิลิโคนเข้าไปได้

แต่ในปัจจุบันความเจ็บปวดแบบนั้นแทบจะไม่มีอีกต่อไปแล้ว เพราะเรารู้แล้วว่าการผ่าตัดเสริมหน้าอกมีเคล็ดลับอยู่ที่ต้องผ่าตัดไม่ให้มีเลือดออกเลยแม้แต่นิดเดียว ซึ่งถ้าผ่าตัดเข้าทางรักแร้หมือนในอดีตจะมีเลือดคั่งอยู่ภายในพอสมควรแม้่ว่าร่างกายเราจะดูดซึมไปได้เองแต่ก็มักจะทำให้เจ็บปวดหลังผ่าตัดมาก

ผมเองมักจะชอบผ่าตัดจากทางฐานเต้านมเนื่องจากสามารถซ่อนแผลเป็นได้ง่าย ผ่าตัดแล้วสามารถห้ามเลือดได้ง่าย จัดทรงของเต้านมได้สวย และที่สำคัญ หลังผ่าตัดเจ็บน้อยมากมาก เรียกว่าวันรุ่งขึ้นแทบจะไปทำงานได้ตามปกติเลยทีเดียว

เรื่องแผลเป็นนั้นไม่ว่าจะผ่าตรงไหนก็ต้องมีแผลเป็นอยู่บ้าง ซึ่งบางครั้งใช้เวลาเป็นปีกว่าจะจางหมด ดังนั้นคนไข้ก็ต้องเลือกว่าอยากให้แผลอยู่ตรงรักแร้หรือใต้ฐานนม อันนี้แล้วแต่ความสบายใจของคนไข้แล้วหละครับ

(credit ภาพประกอบจากinternet)


Tags:

About author
เพจด้านการแพทย์ที่มุ่งให้ความรู้และช่วยเหลือผู้ที่ต้องการข้อมูลทางศัลยกรรมตกแต่งที่ถูกต้องตามหลักวิชาการและเชื่อถือได้โดยอาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมตกแต่งโดยเฉพาะ ซึ่งมีประสบการณ์การศึกษาต่อและดูแลรักษาคนไข้ทั้งในประเทศไทยและสหรัฐอเมริกามาเกือบยี่สิบปี ปัจจุบันเป็นสมาชิกของสมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งแห่งประเทศไทยและสมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา หรือ ติดตามอ่านบทความที่ผมเขียนได้ที่ http://drsurawejrama.wordpress.com/ นายแพทย์สุรเวช น้ำหอม ศัลยแพทย์ผู้มีความเชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมตกแต่งโดยเฉพาะปัจจุบันเป็นอาจารย์แพทย์อยู่ที่คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี รับผิดชอบเกี่ยวกับการเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์และฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทางด้านศัลยกรรมตกแต่งรวมถึงการให้บริการรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาความผิดปกติบริเวณใบหน้าและศัลยกรรมตกแต่งทุกชนิดรวมถึงงานวิจัยที่มุ่งพัฒนามาตรฐานการดูแลผู้ป่วยของประเทศไทย จบการศึกษาแพทยศาสตร์บัณฑิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและศึกษาต่อเฉพาะทางด้านศัลยกรรมทั่วไปที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และด้านศัลยกรรมตกแต่งที่โรงพยาบาลรามาธิบดีหลังจากบรรจุเป็นอาจารย์แล้วได้ไปศึกษาต่อด้านศัลยกรรมตกแต่งใบหน้าที่ Chang Gung Memorial Hospital ประเทศไต้หวัน ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่ให้บริการด้านศัลยกรรมตกแต่งที่ใหญ่ที่สุดในเอเซียและเป็นที่หมอเกาหลีมาดูงานการผ่าตัดใบหน้าจำนวนมาก หลังจากศึกษาต่อที่ไต้หวันเป็นเวลาหนึ่งปีก็ได้ศึกษาต่อเพิ่มเติมที่หน่วยศัลยกรรมตกแต่ง University of Washington, Seattle ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยด้านแพทยศาสตร์ระดับ Top10 ของอเมริกาและมีความโดดเด่นด้านการวิจัยซึ่งหลังจากนายแพทย์สุรเวชได้ศึกษาต่อหนึ่งปีก็ได้รับทุน fellowship จาก National Institutes of Health(NIH) ของอเมริกาให้ทำงานด้านการวิจัยด้านสเตมเซลและการรักษาแผลเป็นอีกเป็นเวลาสามปีมีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับโลกและได้รับการชักชวนจาก Professor หลายท่านให้ทำงานต่อที่อเมริกาแต่เนื่องจากความต้องการจะทำงานเพื่อช่วยเหลือคนไทยจึงได้ปฎิเสธข้อเสนอเหล่านั้นไป ปี 2554 นายแพทย์สุรเวชได้เดินทางกลับมาทำงานที่โรงพยาบาลรามาธิบดีและได้พัฒนาโครงการวิจัยเกี่ยวสเตมเซลจากไขมันการวิจัยเพื่อป้องกันแผลเบาหวานและการให้ความรู้กับประชาชนเกี่ยวกับศัลยกรรมตกแต่งผ่านสื่อของRama Channel, หนังสือพิมพ์เดลินิวส์, มติชน, นิตยสาร Cosmetics, นิตยสาร Allure, นิตยสารHug(7-11) นอกจากนั้นยังรักษาผู้ป่วยทุกระดับชั้นเช่นลุงกุ๋ยผู้ป่วยที่มีใบหน้าพิการไม่สามารถหลับตาและทานอาหารได้ให้กลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติและเป็นได้ให้สัมภาษณ์ในรายการเรื่องเล่าเช้านี้และเรื่องเด่นเย็นนี้ทางไทยทีวีสีช่อง3 ปัจจุบันนี้นายแพทย์สุรเวชให้บริการตรวจคนไข้ที่โรงพยาบาลรามาธิบดีเป็นหลักและมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาการให้บริการในโรงพยาบาลของรัฐให้เป็นที่พึ่งพาแก่ประชาชนทุกคนอย่างดีที่สุดโดยเสียค่าใช้จ่ายที่น้อยที่สุดและต้องการที่จะให้ประชาชนและผู้ป่วยได้รับความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับศัลยกรรมตกแต่งเพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจก่อนเข้ารับการรักษาโดยไม่ถูกบิดเบือนจากการโฆษณาและการตลาด ติดตามและพูดคุยกับนายแพทย์สุรเวชได้ที่ Website : http://drsurawejrama.wordpress.com/ Email : [email protected] FB page : https://www.facebook.com/drsurawejrama
Page for everyone who want straight talk about Cosmetic Surgery: A Guide for making informed decision and avoid useless treatments by Dr Surawej Numhom
View all posts